วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ตามล่าหา_*_กะปอมยักษ์




ททท.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเขต 4 ผุดไอเดียเก๋ เสริมท่องเที่ยวท้องถิ่น
“ตามล่ากะปอมยักษ์” จาก อีสาน..สู่..สะหวันนะเขต”
วันที่ 3-5 มีนาคม 50 ททท.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเขต 4 ได้เชิญทีมงาน Eduzones และสื่อมวลชน เข้าร่วมการเดินทางตามรอยเส้นทางกะปอมยักษ์ เพื่อปลุกกระแสการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนภายนอกห้องเรียน สำหรับน้อง ๆ ที่ชอบการเดินทางและการผจญภัยไปกับโลกยุคดึกดำบรรพ์ในช่วงปิดเทอม

โดยเส้นทางการเดินทางที่น้องๆ จะได้สัมผัสถึงความอลังการและยิ่งใหญ่ ของร่องรอยแห่งซากดึกดำบรรพ์ในยุคบรรพกาล
วันแรกเริ่มขึ้นที่จังหวัดขอนแก่น ที่ พิพิธภัณฑ์ภูเวียง ที่มีการขุดเจอฟอสซิลไดโนเสาร์ เป็นที่แรกของประเทศไทยบนเทือกเขาภูเวียง ซึ่งมีการขุดค้นพบตั้งแต่ปี 2524 ก่อนที่ภูเวียงจะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ 2535 โดยไดโนเสาร์ที่พบในแหล่งนี้อยู่ในหินหมวดเสาขัว ซึ่งมีอายุอยู่ประมาณ 130 ล้านปี และมีการขุดค้นพบซากไดโนเสาร์ 9 หลุม ซึ่งภายในพิพิธภัณฑ์ได้มีการจำลองสภาพแวดล้อมของไดโนเสาร์ที่ค้นพบในประเทศไทยไว้อย่างสวยงาม น้องๆ จะรู้สึกได้ย้อนกลับไปยังยุคที่ไดโนเสาร์ยังครองโลก ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงซากไดโนเสาร์ไว้จำนวนมากๆ มาย ให้เราได้ศึกษา โดยเฉพาะไดโนเสาร์ตัวที่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุดที่พบในประเทศไทย ชื่อว่า ภูเวียงโกซอรัส สิรินธร ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานนาม





วันที่สองของการเดินทาง น้องๆ จะได้เดินทางไปยังโดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งได้มีการค้นพบว่ามีไดโนเสาร์มาตายอยู่ถึง 7 ตัว และในหลุมยังมีกระดูกอีก 700 ชิ้น ซึ่งเป็นการค้นพบที่เยอะที่สุดในเอเซียอาคเนย์ ซึ่งซากดึกดำบรรพ์เป็นที่รู้จักครั้งแรกเมื่อนักธรณีวิทยาและคณะจากกรมทรัพยากรธรณีได้เดินทางมาสำรวนธรณีวิทยาบริเวณนี้ และพบตัวอย่างกระดูกไดโนเสาร์ที่เก็บไว้ในวิหารวัดสักกะวันในปี 2521 ในปี 2523 คณะสำรวจโบราณชีววิทยาไทย-ฝรั่งเศส ค้น พบกระดูกของไดโนเสาร์ซอโรพอด ในปี 2537 ได้พบแหล่งกระดูกเหล่านั้นจำนวน 3 ท่อนไปศึกษา พบว่าเป็นชิ้นส่วนของกระดูกขาหน้าบริเวณร่องน้ำเชิงเขาข้างถนน จึงทำการสำรวจค้นขุดค้นและอนุรักษ์อย่างเป็นระบบ ซึ่งในแหล่งขุดค้นนี้ได้พบโครงการกระดูกไดโนเสาร์เป็นจำนวนมาก ในชั้นหินทรายหมวด เสาขัว ยุคครีเทเชียส อายุประมาณ 130 ล้านปี ซึ่งเป็นโครงกระดูกของไดโนเสาร์ซอโรพอด ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินพืช จำนวนมากที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่ายังมีไดโนเสาร์อีก 4 ชนิด โดยเป็นไดโนเสาร์กินพืชซอโรพอด 2 ชนิด และกินเนื้ออีก 2 ชนิด และสัตร์ร่วมยุคสมัยบริเวณใกล้เคียง เช่นหอย จระเข้ และปลาฉลาม ฯลฯ ซีงทำให้กรมทรัพยากรได้ดำเนินการจัดตั้งห้องปฎิการณ์เพื่อศึกษาอย่างจริงจัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น